คปภ. เผยช่วง 7 วันอันตรายสงกรานต์ปีนี้มอเตอร์ ไซค์ครองแชมป์เกิดอุบัติเหตุ พบไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. 46% • เลขาธิการ คปภ. ย้ำเจ้าของรถหรือผู้ ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่ต้องจัดให้มี การประกันภัย พ.ร.บ. หากฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการประกั นภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท พร้อมเดินหน้ารณรงค์เชิงรุกให้ รถทุกคันทำประกันภัย พ.ร.บ. ทั่วประเทศ
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลอุ ตสาหกรรมประกันภัยและเป็นหนึ่ งในคณะกรรมการศูนย์ อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยมาตลอด โดยเฉพาะการลดอุบัติเหตุทางถนน โดยได้จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกั นและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่ วงเทศกาลสงกรานต์มาอย่างต่อเนื่ องทุกปี เนื่องจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีพี่น้องประชาชนเดินทางท่องเที่ ยวและเดินทางกลับภูมิ ลำเนาพบปะญาติมิตรเพื่อรดน้ำ ดำหัวตามประเพณีสงกรานต์ ส่งผลให้การใช้รถใช้ถนนมีปริ มาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก สำนักงาน คปภ. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิ ดและดำเนินการป้องกันและลดอุบั ติเหตุทางถนนเพื่อช่วยเหลื อประชาชนด้านการประกันภัยโดยได้ ออก 8 มาตรการ เพื่อให้ความช่วยเหลื อประชาชนในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังเทศกาลสงกรานต์ (ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2566) เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านประกั นภัยกับประชาชนผู้ประสบภัยได้ทั นท่วงทีกรณีเกิดอุบัติเหตุ ประกอบด้วย มาตรการแรก เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรณรงค์ป้ องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลสงกรานต์กับศูนย์ปฏิบั ติการร่วมป้องกันและลดอุบัติ เหตุทางถนนที่จังหวัดจัดตั้งขึ้ น ตามแนวนโยบายที่สำนักงาน คปภ. ให้การสนับสนุน และให้ความร่วมมือและเสริมสร้ างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกั บการประกันภัยกับหน่ วยงานของกรมป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มาตรการที่ 2 ร่วมกับจังหวัดตรวจเยี่ยมการปฏิ บัติงานของศูนย์ปฏิบัติการร่ วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ณ จุดตรวจร่วม/จุดบริการร่วม รวมทั้งประสานและประชุมกับเครื อข่ายประกันภัยในพื้นที่เพื่ อเฝ้าระวังและสนับสนุนข้อมูลด้ านการประกันภัย การจัดการสินไหมทดแทนให้กั บประชาชน หากมีเหตุหรือความจำเป็นที่จะต้ องได้รับการเยียวยาช่วยเหลือด้ านการประกันภัย และ/หรือร่วมตั้งศูนย์บริ การประกันภัยช่วง 7 วัน อันตรายระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2566 เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริ การข้อมูลและให้คำปรึกษาด้ านการประกันภัย มาตรการที่ 3 ประชาสัมพันธ์กรมธรรม์ประกันภั ยกลุ่ม แฮปปี้สงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์) เบี้ยประกันภัย 10 บาท ให้ประชาชนทราบถึงช่ องทางการจำหน่าย รายชื่อหน่วยงาน บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วม และสาขาบริษัทประกันภัยที่รั บประกันภัยในพื้นที่ เป็นต้น เงื่อนไขการรับประกันภัย ความคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 100,000 บาท (ระยะเวลาการเอาประกันภัย 30 วัน) และคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุ ด 5,000 บาท ช่วงอายุการรับประกันภัยตั้งแต่ 15 – 70 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ทำประกันภัย ช่วงเวลาทำสัญญาประกันภัยตั้ งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ผู้เอาประกันภัยแต่ละราย มีสิทธิได้รับกรมธรรม์ประกันภั ยจากผู้ประกอบการที่เข้าร่ วมโครงการเพียง 1 กรมธรรม์ต่อผู้ประกอบการ 1 ราย เท่านั้น มาตรการที่ 4 ประชาสัมพันธ์กรมธรรม์ประกันภั ยสงกรานต์ บ้านหายห่วง (ไมโครอินชัวรันส์) เบี้ยประกันภัย 10 บาท ให้ประชาชนทราบถึงช่ องทางการจำหน่าย รายชื่อหน่วยงาน บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วม และสาขาบริษัทประกันภัยที่รั บประกันภัยในพื้นที่ เป็นต้น เงื่อนไขการรับประกันภัย ความคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 30,000 บาท (ระยะเวลาการเอาประกันภัย 30 วัน) และคุ้มครองโจรกรรม 5,000 บาท ช่วงเวลาทำสัญญาประกันภัยตั้ งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ผู้เอาประกันภัยแต่ละราย มีสิทธิได้รับกรมธรรม์ประกันภั ยจากผู้ประกอบการที่เข้าร่ วมโครงการเพียง 1 กรมธรรม์ต่อผู้ประกอบการ 1 ราย เท่านั้น มาตรการที่ 5 จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพั นธ์ผ่านสถานีวิทยุท้องถิ่น และ/หรือสถานีวิทยุกระจายเสี ยงแห่งประเทศไทย รวมถึงสื่อมวลชนในพื้นที่ และสอดแทรกการประชาสัมพันธ์ เรื่อง กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มแฮปปี้ สงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยสงกรานต์บ้ านหายห่วง (ไมโครอินชัวรันส์) เบี้ยประกันภัย 10 บาท การประกันภัยรถตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 รวมทั้งการรณรงค์ดื่มไม่ขับ การรณรงค์ให้ผู้ที่ใช้รถยนต์ คาดเข็มขัดนิรภัย และรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถจั กรยานยนต์สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น มาตรการที่ 6 ประชาสัมพันธ์ช่องทางที่จะใช้ ในการติดต่อกับสำนักงาน คปภ. นอกเหนือจากสายด่วน คปภ. 1186 โดยในส่วนภูมิภาคขอให้แจ้ งหมายเลขโทรศัพท์มือถือแก่หน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.) เป็นต้น
ทั้งนี้จากข้อมูล ในช่วง 7 วันอันตราย (ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2566) มีประชาชนใช้บริการผ่านสายด่วน คปภ. 1186 เป็นจำนวนมาก โดยประเด็นหารือที่ ประชาชนสอบถามเข้ามามากที่สุด 5 อันดับ ประกอบด้วย อันดับแรกตรวจสอบและสอบถามเงื่ อนไขความคุ้มครองประกันภั ยรถภาคบังคับ อันดับที่ 2 ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับใบอนุญาต/ สมัครสอบ/อบรม/การขอรับใบอนุ ญาตนายหน้าประกันภัย อันดับที่ 3 ตรวจสอบและสอบถามเกี่ยวกับประกั นภัยรถภาคสมัครใจ อันดับที่ 4 ต้องการร้องเรียนด้านประกันภัย และอันดับที่ 5 ขอคัด ตรวจสอบ และติดตามกรมธรรม์ประกันภัย. มาตรการที่ 7 กรณีเกิดอุบัติเหตุรายใหญ่ สำนักงาน คปภ.ภาคและจังหวัด พร้อมลงพื้นที่โดยทันทีเพื่อติ ดตามช่วยเหลือและตรวจสอบด้ านการประกันภัยเบื้องต้นว่ามีผู้ ประสบภัยจากรถมีการทำประกันภั ยไว้กับบริษัทประกันภัยใด ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้ารั กษาพยาบาลในโรงพยาบาล ประสานผู้ประสบภัย ทายาทผู้ประสบภัย และบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้ องเพื่ออำนวยความสะดวกและเร่งติ ดตามให้มีการจ่ายค่าสิ นไหมทดแทนได้อย่างถูกต้ องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้บู รณาการการทำงานร่วมกับหน่ วยงานในศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้ องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่ จังหวัดจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ เช่น สำนักงานป้องกั นและบรรเทาสาธารณภัย ตำรวจ สำนักงานขนส่งจังหวัด รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สาขาบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภั ยกลุ่มหรือรายใหญ่ผ่านระบบอิเล็ กทรอนิกส์ว่าผู้ประสบภัยได้มี การทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบว่าผู้ประสบภัยมี การทำประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก จะได้ประสานบริษัทประกันภัยเพื่ อช่วยติดตามการชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนต่อไป. มาตรการที่ 8 สั่งการให้สำนักงาน คปภ. ภาค 1-9 ติดตามและรายงานความเสียหายด้ านประกันภัยที่เกิดขึ้นในช่วง 7 วันอันตราย (ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2566) ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลสถิติ อุบัติเหตุทางถนนในช่ วงการรณรงค์ 7 วันแห่งความปลอดภัยช่ วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภั ยทางถนน (ศปถ.) พบว่า เกิดอุบัติเหตุรวม 2,203 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 264 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,208 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุ สะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย (68 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสู งสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (22 ราย) และจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็ บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (70 คน) จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต 2 จังหวัด คือ พัทลุง พังงา
สำหรับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้ านการประกันภัย สำนักงาน คปภ. ได้รับรายงานจากสำนักงาน คปภ. ภาค 1-9 ณ วันที่ 18 เมษายน 2566 มีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้ นและค่าสินไหมทดแทน จำนวน 70 ราย เป็นจำนวนเงิน 3,368,508 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกั นของปี 2565 มีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้ นและค่าสินไหมทดแทน จำนวน 139 ราย เป็นจำนวนเงิน 5,145,145 บาท จึงได้สั่งการให้บริษัทประกันภั ยเร่งประเมินความเสียหายและจ่ ายค่าสินไหมทดแทนด้วยความรวดเร็ วเพื่อให้ระบบประกันภัยเป็นเครื่ องมือที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้ อนให้กับประชาชน
นอกจากนี้ยังพบว่ามีรถจั กรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ร้อยละ 75.25 และในจำนวนรถจักรยายนต์ที่เกิ ดอุบัติเหตุมีร้อยละ 53.47 ที่ทำประกันภัย พ.ร.บ. ภาคบังคับ และร้อยละ 46.53 ที่ไม่ได้ทำประกันภัย พรบ. ภาคบังคับ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็ นว่ายังมีรถที่อยู่ นอกระบบการประกันภัย พ.ร.บ. อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีเจ้ าของรถจำนวนมากที่ยังขาดความเข้ าใจและตระหนักถึงความสำคั ญของการมีประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อนำไปเป็นเครื่องมื อในการบริหารความเสี่ยงภัย หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิ ดเกิดขึ้นจากการใช้รถใช้ถนน
“สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความห่วงใยและฝากเตื อนไปยังเจ้าของรถหรือผู้ ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่ต้องจัดให้มี การประกันภัย พ.ร.บ. หากฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการประกั นภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท หรือหากเป็นผู้ที่ใช้รถที่ไม่ ทำประกันภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และหากเป็นทั้งเจ้าของรถที่ไม่ ทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้นำรถคันนั้นออกไปใช้ เองจะมีความผิดทั้ง 2 ข้อหา โดยมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จะยังคงมุ่งเน้นการรณรงค์เชิงรุ กให้รถทุกคันทำประกันภัย พ.ร.บ. ทั่วประเทศ ทั้งนี้หากต้องการสอบถามข้อมู ลเพิ่มเติมหรือไม่ได้รับความเป็ นธรรมด้านประกันภัย ติดต่อสายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย