การประชุมสุดยอดสตาร์ทอัพญี่ปุ่ น – ไทย เรื่อง AGRITECH BRIDGE 2023 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ที่ K– Stadium อาคาร กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป ( KBTG) ภายใต้ความร่วมมือของธนาคารกสิ กรไทย อากุเวนเจอ แลป ( AgVenture Lab) และธนาคารโนรินจูกิง ( Norinchukin Bank) โดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้ เชี่ยวชาญชั้นนำ นักลงทุน และบริษัทสตาร์ทอัพจากทั้ งสองประเทศ การประชุมครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ และสนับสนุนการปฏิบัติอย่างยั่ งยืนร่วมกันในด้ านอาหารและการเกษตรระหว่างญี่ปุ่ นและประเทศไทย
นายโคกิ โอกิโนะ ( Mr. Koki Ogino) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AgVenture Lab เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม โดยได้เน้นย้ำถึงความจำเป็ นของการปฏิบัติอย่างยั่งยืนด้ านการเกษตรและความสำคั ญของการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และความรู้ระหว่างประเทศไทยกั บญี่ปุ่นในด้านอาหาร การเกษตรและความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญแก่บันทึ กความเข้าใจด้านการเป็นหุ้นส่ วนและความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างธนาคารกสิกรไทยกั บธนาคารโนรินจูกิง ซึ่งครอบคลุมถึงนวั ตกรรมในอนาคตเพื่อให้การส่งเสริ มด้านเทคโนโลยี การเกษตรและอาหารอีกด้วย
ด้านนายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้บรรยายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ญี่ปุ่น – ไทย และกล่าวว่าการประชุมในครั้งนี้ อาจเปรียบเทียบได้ว่าเป็ นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ เพื่อยกระดับในมิติใหม่ ๆ ของความร่วมมือ นอกจากนี้ ได้กล่าวย้ำว่าธนาคารกสิ กรไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุ นสตาร์ทอัพญี่ปุ่นในตลาดไทย และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะในสาขาอาหารและการเกษตร ในท้ายที่สุด ได้เน้นย้ำถึงความร่วมมื อของธนาคารกับหน่วยงานสำคัญต่ างๆ ในโครงการรักษ์ป่าน่าน ที่ได้ริเริ่มการแก้ไขปัญหาด้ านความเป็นอยู่ของประชาชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นวัตกรรมและความร่วมมือของฝ่ ายต่าง ๆ ซึ่งต่างมีความสำคัญต่อการบรรลุ เป้าหมายด้านความยั่งยืน
ในการประชุม สตาร์ทอัพชั้นนำของญี่ปุ่นจำนวน 8 บริษัทได้นำเสนอนวั ตกรรมและโมเดลทางธุรกิจของบริษั ทรายละ 15 นาที ตามด้วยช่วงการตอบคำถามเพื่อเป็ นการแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่ างผู้เข้าร่วมประชุม เริ่มต้นจาก HEMIX ( Business Innovation Partners) – นำเสนอพลาสติกชีวภาพจากการคิดค้ นเป็นรายแรกของโลกโดยใช้ของเสี ยด้านการเกษตร ป่าไม้และประมง, SAGRI – การใช้ข้อมูลจากดาวเที ยมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการแก้ปัญหาด้านการเกษตรและสิ่ งแวดล้อม, EF POLYMER – ผลิตโพลิเมอร์ดูดซับจากกล้วยที่ เน่าเสียและเปลือกส้มเพื่อแก้ปั ญหาความแห้งแล้งและการเสื่ อมโทรมของดิน, Ecologgie – ผลิตโปรตีนคุณภาพสูงที่เป็นมิ ตรกับสิ่งแวดล้อมโดยร่วมมือกั บเกษตรกรท้องถิ่นในประเทศกำลั งพัฒนา และใช้เศษอาหารและของเหลื อจากผลิตผลทางการเกษตร เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ เกษตรกร, Ac– Planta – พัฒนาและผลิต “ Skeepon” ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับป้องกันพื ชจากภาวะด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ กรดอะซิติก, Towing – ผลิตดินที่มีคุณภาพสูงโดยมีจุลิ นทรีย์ที่ช่วยกระตุ้นปฏิกิริ ยาการตรึงคาร์บอนในที่ดินเพื่ อการเพาะปลูก, Agri Smile ใช้ระบบการวิจัยที่ก้าวหน้าพั ฒนาผลิตภัณฑ์สารกระตุ้นทางชี วภาพ เพื่อส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะ, และ Agnavi – พัฒนา ICHI– GO– CAN และ Canpai ซึ่งเป็นแบรนด์สาเกที่บรรจุ ในกระป๋องขนาด 180 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นความจุที่สะดวกต่ อการพกพา และมีรูปลักษณ์ทันสมัย
นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวได้เปิ ดโอกาสให้มีการสร้างเครือข่าย โดยผู้เข้าร่วมประชุ มสามารถพบปะพูดคุยกับผู้เชี่ ยวชาญและนักลงทุนในสาขาการเกษตร ทั้งยังได้ลิ้มรสซูชิต้นตำรั บจาก CP– UORIKI ในการกล่าวปิดการประชุม นายนารุโตชิ โอจิไอ (Narutoshi Ochiai) กรรมการบริหารของ AgVenture Lab ได้แสดงความยินดีต่อความสำเร็ จของการประชุมครั้งนี้และกล่ าวย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมื อและนวั ตกรรมในสาขาการเกษตรระหว่างญี่ ปุ่นและไทย
การประชุมสุดยอดสตาร์ทอัพญี่ปุ่ นและไทย เรื่อง AGRITECH BRIDGE 2023 นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ ง และแสดงให้เห็นถึงความสำคั ญของความร่วมมือระหว่ างประเทศและการปฏิบัติอย่างยั่ งยืนด้านการเกษตร ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้ าทางเทคโนโลยี การเกษตรและอาหารในอนาคต รวมทั้งโอกาสทางธุรกิ จในประเทศไทย ญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้