จากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความสู ญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็ นจำนวนมาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) และภาคธุรกิจประกันภัยได้เร่ งตรวจสอบและประเมินความเสียหาย พบว่ามูลค่าความเสียหายที่ ทำประกันภัยรวมกว่า 420 ล้านบาท เป็นรถยนต์ที่เสี ยหายประมาณการค่าสินไหมทดแทน 408 ล้านบาท บ้านที่อยู่อาศัย อาคาร ร้านค้า เสียหาย 865 หลังคาเรือน ประมาณการค่าสินไหมทดแทนไม่ต่ำ กว่า 10 ล้านบาท และข้าวนาปีที่ทำประกันภัย เสียหาย 126,104 ไร่ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินค่าสิ นไหมทดแทน
เพื่อเตรียมแผนรับมือการเกิ ดเหตุอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นต่ อเนื่อง สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับ สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ ปรึกษาการเงิน และสมาคมการค้าผู้ สำรวจและประเมินวินาศภัยไทย จัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการด้านการประกั นภัยเพื่อบริหารจัดการและช่ วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ภัยพิ บัติ” (Insurance Center for Disaster Management and Co-operation : ICD) เพื่อเพิ่มมาตรการให้ความช่ วยเหลือ และมาตรการรองรับความเสี่ ยงจากอุทกภัย ที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสี ยและความเสียหาย โดยเร่งออก 2 มาตรการ คือ
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ เอาประกันภัยในเขตพื้นที่ ประสบสาธารณภัย ได้แก่ การผ่อนผันเงื่อนไขกรมธรรม์ ประกันชีวิต โดยการผ่อนผันการชำระเบี้ยประกั นภัย หรือยกเว้นดอกเบี้ยในกรณีเงื่ อนไขกรมธรรม์ที่มีการคิดดอกเบี้ ย การผ่อนผันเงื่อนไขกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ โดยการผ่อนผันการเก็บเบี้ยประกั นภัยและการชำระเบี้ยสำหรั บการประกันภัยรถยนต์ และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรั บการประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่ อาศัยในเขตพื้นที่ประสบสาธารณภั ย โดยผ่อนผันให้การเรียกร้องค่าสิ นไหมทดแทน สามารถแสดงหลั กฐานและเอกสารประกอบเป็นภาพถ่ ายทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่ ได้รับความเสียหาย และบันทึกรายการทรัพย์สินที่เสี ยหายได้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ วในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนดังกล่ าว ซึ่งมาตรการข้างต้นเป็นช่วยเหลื อผู้เอาประกันภัยที่อยู่ในเขตพื้ นที่ประสบสาธารณภัย โดยกำหนดช่วงระยะเวลาผ่อนผัน ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
2. มาตรการการผ่อนผันเพื่ อบรรเทาความเดือดร้อนของตั วแทนและนายหน้าประกันภัยผู้ ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตที่ ได้ประสบอุทกภัย ทำให้ไม่สามารถเข้ารั บการอบรมและต่ออายุใบอนุญาต สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาต่ ออายุพร้อมเอกสารหลักฐานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สถานการณ์กลับสู่ ปกติ แต่ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2567
ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวจะออกมาเพื่อช่ วยประชาชนได้เร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ ยังมีนโยบายการสร้างความตระหนั กเกี่ยวกับการประกันภัย และการจัดการภัยพิบัติให้ สามารถรับมือได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ผ่านกิจกรรม ได้แก่ การบรรยายและเสวนา “สร้างการตระหนักรู้เพื่อรับมื ออุทกภัยในยุคการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน” ในวันที่ 4 ตุลาคม 2567
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) กล่าวเสริมว่า เหตุการณ์น้ำท่วมรอบนี้ สำนักงาน คปภ. ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบ Insurance Bureau System (IBS) ซึ่งทำให้เห็นว่าพื้นที่น้ำท่ วมจุดไหนบ้างที่มีประกันภัยทรั พย์สิน หรือโซนตำบล อำเภอไหนที่มีบ้านเรือน โรงงานที่ทำประกันภัยคุ้มครองภั ยน้ำท่วม โดยข้อมูลนี้จะช่วยให้บริษั ทประกันภัยลงพื้นที่จัดการค่าสิ นไหมทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่สำนักงาน คปภ. ใช้ระบบข้อมูลมาบริหารจัดการภั ยพิบัติร่วมกับภาคธุรกิจ
สุดท้ายนี้ ขอฝากให้ประชาชนตระหนักถึ งความสำคัญของการทำประกันภัย เพื่อให้ได้รับความคุ้ มครองในความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สินจากภัยพิบัติ อาทิ อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว และภัยแล้ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทา และแบ่งเบาภาระทางการเงิ นของประชาชนในเบื้องต้นเมื่อเกิ ดภัยพิบัติขึ้นได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอี ยดการประกันภัยเพิ่มเติมได้ จากบริษัทประกันภัย สายด่วน คปภ. หรือศึกษาข้อมูลได้ที่ www.oic. or.th